ขั้นการสูญเสียการส่งผ่านเสียงเป็นค่าที่แสดงการยอมให้เสียงผ่านได้ของระบบเปลือกอาคารชนิดต่างการศึกษาครั้งนี้จะพิจารณา
ระบบเปลือกอาคารเฉพาะในส่วนของผนังระบบเปลือกอาคารในส่วนของผนังแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ผนังทึบชั้นเดียว (Single Homogeneous Wall) เช่น ผนังไม้, ผนังก่ออิฐ, ผนังคอนกรีตบล็อก ฯลฯ ขั้นการสูญเสียการส่งผ่านเสียง (STC) ของผนังทึบชั้นเดียวจะขึ้นกับมวลอาจมีค่าถึง 70 ผนังที่มีมวลหนักจะสาม ารถกันเสียงได้มากกว่าผนังที่มีมวลเบา ค่า STC ของผนังทึบชั้นเดียวจะได้จากการคำนวณหรือจากห้องทดลองของ Ceder Knolls, Geiger and Hamme, Riverbank, etc จากหนังสืออ้างอิงของ Egan, M. David
2. ผนังสองชั้นมีช่องว่างอากาศ (Cavity Wall) เมื่อได้ประโยชน์จากระบบผนังทึบแล้วได้มีการศึกษาถึงระบบผนังที่มีช่องว่างอากาศ เช่น กระจกสองชั้น ผนังก่ออิฐสองชั้น ผนังยิบซั่มหรือไม้อัดสองชั้นที่ประกอบด้วยโครงสร้างไม้-เหล็ก ช่องว่างอากาศภายในมีคุณประโยชน์ในการดูดซับเสียง โดยเสียงรบกวนที่กระทบกับพื้นผิว ผนังจะสะท้อนกลับไปมาภายในช่องว่างอากาศทำให้ความเข้มเสียงที่ส่งผ่านผนังนั้นลดลง โดยทั่วไปผนังที่มีช่องว่างอากาศจะทำให้โครงสร้างอาคารสามารถกันเสียงเพิ่มขึ้นอีก 3-6 เดซิเบล (Stein, B; and Reynolds, J.S, 1992: 1387)
3. ผนังผสม (Composite Wall) หมายถึง ผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ที่มีองค์ประกอบเป็นวัสดุสองชนิดขึ้นไป ผนังผสมสร้างด้วยเหตุผลทางด้านการใช้งาน เช่น การระบายอากาศ การดูวิว แสงสว่าง ฯลฯ โดยทั่วไปโครงสร้างผสมจะประกอบด้วย ประตู หน้าต่าง และช่องแสง ค่าการสูญเสียการส่งผ่านเสียงรวมของผนังคำนวณได้จากค่าสัมประสิทธิ์ค่าความเป็นฉนวนเฉลี่ยของผนัง (Sound Transmission Coefficient, α) ผนังผสมเป็นสาเหตุทำให้คุณสมบัติความเป็นฉนวนกันเสียงของผนังลดลงเมื่อเทียบกับผนังทึบ
4. ผนังกรณีที่เปิดช่องเปิด เช่น เปิดประตู หน้าต่าง หรือช่องแสง เพื่อการระบายอากาศหรือเพื่อรับแสงสว่าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียงรบกวนจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้องประชุม ถ้าหากพื้นที่ช่องเปิดยิ่งมากทำให้ค่าความเป็นฉนวนกั้นเสียงของระบบเปลือกอาคารลดลง
การรั่วซึมของเสียง (Sound Leaks) จากระบบผนัง เป็นตัวแปรหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันเสียงรบกวน จากสภาพแวดล้อมภายนอกห้องประชุม เนื่องจากเสียงภายนอกได้รั่วซึมเข้าภายในห้องประชุมทำให้ระดับเสียงภายในห้องเพิ่มขึ้น การรั่วไหลของเสียงจะเกิดขึ้นเพียงแต่ผนังมีรอยแตกร้าวที่ประมาณ 1/32” เช่น รอยต่อระหว่างวงกบกับประตู หรือหน้าต่างกับผนัง (Miller and Montone, 1978: 55) นอกจากนี้ การรั่วซึมของเสียงผ่านรอยต่อระหว่างโครงสร้างอาคาร เช่น ระหว่างผนังกับพื้น ผนังกับฝ้าเพดาน โดยเฉพาะผนังที่มีมวลน้อยการรั่วซึมของเสียงจะเกิดได้มากกว่าผนังที่มีมวลมาก ดังนั้น ควรมีการขยายจุดต่อต่างๆ และหาวิธีป้องกันการรั่วซึมของเสียงด้วยวัสดุที่ประยุกต์จากฉนวน
|