เสียงเป็นคลื่น (Wave) ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนในอากาศและวัตถุอื่นๆ การสั่นสะเทือนนี้ทำให้โมเลกุลของตัวกลางเกิดการสั่นไปด้วย อันเป็นผลให้เสียงแผ่ไปในตัวกลางนั้น ทิศทางการสั่นของโมเลกุลของตัวกลางจะขนานกับทิศทางของการแผ่ของเสียง อันเป็นสมบัติของคลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการแผ่ เมื่อมีการถ่ายทอดคลื่นตัวกลางนี้จะต้องมีการยืดหยุ่น (Elasticity) ของโมเลกุลวัตถุ ซึ่งตัวกลาง (Medium) ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เพราะในสุญญากาศเสียงจะผ่านไม่ได้เลย คลื่นเสียงจัดเป็นเชิงคลื่นกล (Mechanical Wave) ชนิดหนึ่ง
การเกิดคลื่นเสียงในอากาศ อันเกิดจากการสั่นของต้นกำเนิดเสียงนั้น ทำให้โมเลกุลในอากาศเกิดการเคลื่อนที่ เรียกว่า Wave Motion หรือการเคลื่อนไหวของคลื่นใน 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะที่เป็นช่วงอัด หรืออากาศมีการกดตัว (Compression) และลักษณะที่ 2 คือ ช่วง ขยาย (Rarefaction) ลักษณะทั้งสองนี้เกิดเป็นคลื่นแผ่ออกไปรอบ คล้ายกับการโยนหินลงไปในบ่อน้ำจะเห็นคลื่นของน้ำแผ่ออกไปรอบด้าน ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า แอมพลิจูด (Amplitude)
รูป ส่วนสำคัญของคลื่นเสียง แสดงการส่งคลื่น เกิดการอัดและขยายตัว
ที่มา: M.David Egan, Architectural Acoustics, (McGraw-Hill, Inc., 1988:3)