3. วิเคราะห์ปัญหาเสียงรบกวนอาคารข้างเคียง
- เสียงไปรบกวนอาคารข้างเคียงในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งมีระยะห่างออกไปประมาณ 50 ม. (จากการประมาณการโดยใช้ระยะที่วิกฤตที่สุดเป็นเกณฑ์)
- เสียงภายในห้องจะลอดออกมายังทางเดินรอบนอกของอาคารเมื่ออยู่ในชั้นเดียวกัน
เสียงภายในห้องลอดออกไปยังชั้นล่างของอาคาร
- เพราะกำลังเสียงที่ผ่านจากผนังอาคารออกมาแล้ว ยังมีกำลังที่มากพอเมื่อเดินทางไปยังจุดรับเสียง เช่น ขณะนั้นมีกำลังเสียงมากหรือ ค่า NC ในเวลานั้นต่ำ
- เพราะลอดผ่านพื้นและโครงสร้างของอาคาร(ที่เป็นโครงสร้างต่อเนื่อง) ไปยังจุดรับเสียงของชั้นอื่นๆ ในอาคาร
 จากวัสดุรูปทรงและรูปแบบการก่อสร้างคาดว่าเสียงที่เล็ดลอดไปยังอาคารข้างเคียงน่าจะมีสองส่วนดังต่อไปนี้
- ผนังอาคารที่เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน
- หลังคาของอาคารที่เป็น Metal sheet และมีฝ้าเพดานภายในแบบธรรมดาที่ไม่ซับเสียง
กำหนดสมมติฐานในการคำนวณดังต่อไปนี้ ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดสูงสุด = 100 dB
ระยะทางใกล้สุดของอาคารข้างคียง = 50 ม.
ผนังอาคารด้านข้างคิดเป็นผนังทึบไม่มีช่องเปิด
มาตรฐานค่าของอาคารประเภทที่พักอาศัยอยู่ที่ NC=25-30 หรือ เทียบเท่ากับ 34-42 dB
Recommentded Noise Criterion - NC
The noise in different types of rooms should not exceed the Noise Criterion limits listed below:
 อ้างอิง http://www.engineeringtoolbox.com/nc-noise-criterion-d_725.html และ; เอกสารประกอบการเรียน Master y Postgrado en Acustica; Acustica de Salas(22743); Ivana Rossell; Parametros de Salas: Requisitos Acusticos; Ramon Llull LaSalle
ทฤษฏีการคำนวนการลดระดับเสียง
- แหล่งกำเนิดเสียงแบบ Esfericas = 6dB
- แหล่งกำเนิดเสียง Cilindricas = 3dB
- แหล่งกำเนิดเสียงแบบ Cilindrica en campo libre = 0, 3, 6dB
กรณีที่ 1 เสียงผ่านจากผนังไปยังอาคารข้างเคียง

จากผลของการคำนวนแสดงว่าเสียงจะไปถึงอาคารข้างเคียงที่ระดับ 50.7 dB ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นประมาณ 47.7 - 42 = 5.7dB พิจารณาผนังทึบไม่มีช่องเปิด ซึ่งถ้าคำนวนละเอียดเสียงน่าจะเกินจากค่าที่ได้ตอนนี้
กรณีที่ 2 เสียงผ่านจากหลังคาไปยังอาคารข้างเคียง  จากผลของการคำนวนแสดงว่าเสียงจะไปถึงอาคารข้างเคียงที่ระดับ 50.7 dB
ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นประมาณ 57.0 - 42 = 15dB
พิจารณาผนังทึบไม่มีช่องเปิด ซึ่งถ้าคำนวนละเอียดเสียงน่าจะเกินจากค่าที่ได้ตอนนี้
จากผลการคำนวน
- ผนัง 47.7 - 42 = 5.7dB
- หลังคา 57.0 - 42 = 15 dB
การต้านทานของผนังและเพดาน ซึ่งตัวเลขที่ปรากฏในการคำนวนคือค่าสูงสุดที่น่าจะเกิดขึ้นได้
จะเห็นว่าเสียงที่ลอดผ่านจากหลังคาไปยังอาคารข้างเคียงมีปริมาณมากกว่าเสียงที่ลอดผ่านจากผนัง ดังนั้นตำแหน่งที่สมควรที่จะต้องแก้ปัญหาคือบริเวณหลังคา โดยจะต้องทำการติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงที่มีค่า NRC ไม่ต่ำกว่า 15dB
แต่...ถึงแม้จะแก้ปัญหาที่เสียงผ่านจากหลังคาแล้วก็ยังเป็นไปได้ที่อาคารข้างเคียงยังคงจะได้ยินเสียงรบกวนบ้างเนื่องจากเสียงที่ผ่านผนังไปจนถึงจุดรับเสียงก็ยังเกินอยู่ 5.7 dB
กรณีที่ไม่ต้องการแก้ปัญหาที่ผนังด้วยจำเป็นจะต้องลดระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดลงมาให้อยู่ในระดับไม่เกิน 90dB (ระดับเสียงจะเหลือ 37.7 dB ต่ำกว่า NC มาตรฐาน) แต่แนะนำให้แก้ปัญหาที่ผนังด้วย เพราะในอนาคตอาจมีจุดรับเสียงที่อยู่ใกล้กว่า 50 ม. อีกทั้งค่าการต้านทานเสียงผ่านของผนังด้านข้าง (R) ถูกพิจารณาเป็นแบบผนังทึบทั้งแผง ซึ่งในความเป็นจริงผนังดังกล่าวจะมีช่อเปิดด้วย นั่นมายความว่าเสียงอาจจะสามารถลอดผ่านช่องเปิดออกไปได้มากกว่าผนังทึบ
|